“เป็ดไล่ทุ่ง” วิถีชีวิตเกษตรกรไทย กรมปศุสัตว์ เสริมแกร่ง “ออกสมุดประจําฝูงเป็ด” ยกระดับการ เลี้ยงให้ปลอดภัย

เผยแพร่:    ปรับปรุง:    โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สํานักควบคุม ป้องกันและบําบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง เป็นภูมิปัญญา ชาวบ้านดั้งเดิม ที่ผสมผสานวิถีชีวิตเกษตรกรรมเข้ากับธรรมชาติ เป็นวิธีการเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน เป็ดไล่ทุ่งถูก ปล่อยให้หากินตามทุ่งนา ช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร อีกทั้งเป็นการช่วยควบคุมประชากรแมลง ศัตรูพืช กําจัดวัชพืช และเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้กับดิน ช่วยให้เกษตรกรลดการใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี อีกทั้งมูล เป็ดยังเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี ช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลดีต่อระบบนิเวศ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ ผลผลิตทางการเกษตร ในแง่ของการสร้างรายได้นั้น เกษตรกรสามารถจําหน่ายไข่เป็ด ปุ๋ยคอก และเนื้อเป็ด ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นจุดเด่นของการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง

สําหรับการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งนั้น มีรูปแบบการเลี้ยงที่ไม่ยุ่งยาก แต่ในทางกลับกัน การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งก็มี ความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนกได้ เนื่องจากเป็ดมีโอกาสสัมผัสกับนกธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งรังโรค ได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังต้องมีการเคลื่อนย้ายสถานที่เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่อยู่เสมอ

ดังนั้น การที่เกษตรกรจะทําการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งควรมีการขึ้นทะเบียนฝูงเป็ดไล่ทุ่งให้ครบถ้วน และ ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้หวัดนกในเป็ดไล่ทุ่ง ที่ออกโดยกรมปศุสัตว์ จะทําให้สามารถติดตาม ตรวจสอบย้อนกลับ และช่วยควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น

โดยการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง เป็นการเลี้ยงสัตว์ปีกตามธรรมชาติ ทางเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง จึงควรที่จะ ทําการขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ให้ถูกต้อง ได้รับการทําวัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรมที่ได้รับการดูแลจาก กรมปศุสัตว์ เพื่อให้เป็ดที่เลี้ยงปลอดโรคติดต่อที่สําคัญ มีสุขภาพแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันต่อโรค และส่งผลให้ไข่ ที่ได้จากเป็ดไล่ทุ่งนั้นมีคุณภาพ สัตว์ปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการเลี้ยงให้มีความปลอดภัย และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค กรมปศุสัตว์ได้มี การขึ้นทะเบียนเป็ดไล่ทุ่ง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็ดไล่ทุ่ง (สมุดประจําฝูงเป็ด) และสามารถที่จะได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเป็ดได้ โดยในสมุดจะมีข้อมูลที่ระบุชื่อเจ้าของเป็ด ผู้เลี้ยงประจํา ฝูงเป็ด สายพันธุ์เป็ด จํานวนเป็ดในฝูง อายุ และเพศ มีรายละเอียดที่สามารถติดตามฝูงเป็ดว่ามีประวัติการทํา วัคซีนการเคลื่อนย้าย รวมทั้งข้อมูลคําแนะนําต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูลสุขภาพเป็ดในฝูง ซึ่งเกษตรกรทุกราย สามารถขอขึ้นทะเบียนได้ที่สํานักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ได้ทุกจังหวัด
ทั้งนี้เกษตรกรและผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สํานักควบคุม ป้องกันและ บําบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2653-4444 หรือที่สํานักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัด ทั่วประเทศ

แกลเลอรี

About Author