[เรื่องไข่ไข่] สาระน่ารู้ “กินไข่ไก่ทั้งฟอง” ได้ไหมถ้าอยากสุขภาพดี ?

 แชร์บอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้ เนื้อหาโดย blesstyhoran

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน วันนี้เราจะมาสรุปในเรื่องของการกินไข่ไก่ ว่ากินได้หรือไม่ทั้งฟอง เต็มๆใบ
เพื่อให้สุขภาพดี หุ่นดี ลดไขมันแบบฉบับที่เข้าใจง่ายๆกัน
ต้องบอกก่อนว่า…การลดไขมันและความอ้วนเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์

ดังนั้นจะเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายโดยละเอียดทั้งหมดในที่นี้
แต่เราสามารถกล่าวถึงบางแง่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกินไข่ไก่ทั้งฟอง
เพื่อลดไขมันและความอ้วนได้ แต่หลายๆแหล่งกล่าวว่า “ไม่ควรกินไข่แดง”

ผู้เขียนเลยจะขอนำทุกคน มาดูกันที่ประโยชน์ที่จะได้รับจากการกินไข่ไก่กันก่อน..
แท้จริงแล้ว….ไข่ไก่เป็นแหล่งของหลายสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
นี่คือสารอาหารบางอย่างที่มีในไข่ไก่และมีประโยชน์ต่อร่างกาย:

  1. โปรตีน: ไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูง โปรตีนช่วยในการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ
    ในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยในกระบวนการสร้างฮอร์โมน และสร้างเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย.
  2. วิตามิน: ไข่ไก่มีวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามิน A, วิตามิน D, วิตามิน E, วิตามิน K และวิตามิน B12
    ที่มีบทบาทสำคัญในระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท ระบบเลือด และการสร้างเนื้อเยื่อ.
  3. โลหะแร่: ไข่ไก่มีโลหะแร่หลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และเหล็ก
    ที่เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างกระดูกและเครื่องมือต่างๆ ในร่างกาย
    นอกจากนี้ยังมีบทบาทในระบบการหมุนเวียนของเลือดและปรับสมดุลของเหล็กในร่างกาย.
  4. ลูทีน: ไข่ไก่มีลูทีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้อย่างปกติ
    และมีบทบาทในกระบวนการสร้างและซ่อมแซมเซลล์เนิร์ฟ.
  5. โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6: ไข่ไก่มีโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ที่เป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
    แต่ส่วนใหญ่ไม่เป็นที่น่าสังเกตในปริมาณที่สูง.

มาถึงในส่วนของที่หลายๆคนกังวล ว่าถ้ากินทั้งฟอง เอ๊ะ? ได้หรอ กินเยอะๆได้ไหม?
แล้วถ้ากินเยอะๆ ไขมันจะเพิ่มกระฉูดไหม จะดีต่อสุขภาพหรือเปล่า จะอ้วนไหม…
ทางผู้เขียน มีข้อมูลดังนี้ …

ในช่วง40กว่าปีก่อน มีการเตือนว่า ห้ามกินไข่แดงเยอะจนเกินไป อย่ากินไข่ไก่ทั้งฟอง
เพราะจะเสี่ยงโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตัน ไขมันอุดตัน
ซึ่งทำให้คนทั่วไปเข้าใจดังนั้น และ ลด ละ การกินไข่แดงไปโดยปริยาย
แต่เมื่อช่วงประมาณ 5 ปีก่อน มีงานวิจัยใหม่ๆ การทดลองใหม่ๆออกมา ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ได้ดังนี้
(สรุปตัวผู้เขียนเองจากการอ่านงานวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล)

– ค่าคอเรสเตอรอล HDL (ชนิดดี)
มักเพิ่มขึ้นเกือบทุกคนในกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ
– ค่าคอเรสเตอรอล LDL (ชนิดไม่ดี)
ไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไหร่ แต่บางครั้งมีการเพิ่มขึ้นบ้าง
– การลดค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูง
ช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ เพราะไข่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารช่วยในกระบวนการนี้
– ค่าของสารต้านอนุมูลอิสระบางอย่างเพิ่มขึ้น
เช่น แคโรทีนอยด์ เชลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)

**** – ไข่ไม่มีผลกระทบต่อค่าโดยรวมหรือค่าคอเรสเตอรอล LDL ในกลุ่มทดลอง 70%
แต่ในกลุ่มทดลอง 30% พบว่าค่าพวกนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (เฉพาะกลุ่ม hyper responders)

 ไข่สามารถเปลี่ยน small dense LDL particles (ที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานต่ออินซูลิน)
เป็น Large LDL ที่เป็นที่ดี นั่นช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคในระบบหัวใจ
แม้ว่าค่าคอเรสเตอรอล LDL อาจเพิ่มขึ้นและค่าโดยรวมก็อาจเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่น่าเป็นห่วง

ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนคำแนะนำในการบริโภคอาหารสำหรับทุกคน
โดยไม่จำกัดคอเลสเตอรอลในอาหารเช่นเดิมที่จำกัดไว้ที่ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม

นี่ไม่แสดงว่าคุณสามารถบริโภคคอเลสเตอรอลได้โดยไม่มีข้อจำกัดเลย
และยังทำให้สามารถทานไข่ไก่ได้เต็มฟอง เต็มใบไม่ต้องกลัว (ตามสรุปข้อมูลข้างต้น)

และยังเป็นการให้ความยืดหยุ่นในการบริโภคอาหารมากขึ้นอีกด้วยสำหรับคนที่มีสุขภาพดีในทั่วไป
แต่ควรให้ความสำคัญกับการรับประทานอย่างสมดุลและมีการคำนึงถึงปริมาณที่เหมาะสม
เพื่อให้สามารถรักษาระดับสุขภาพที่ดีได้ตลอดเวลาด้วย

About Author